เป็นที่ทราบกันดีว่า ในการเจริญเติบโตของพืชโดยส่วนใหญ่นั้น พืชจะใช้วิธีดูดซึมน้ำและแร่ธาตุจากดิน พร้อมกับการสังเคราะห์แสงจากดวงอาทิตย์
มีเพียงพืชไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่กินแมลงเป็นอาหารเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต ซึ่งโดยส่วนใหญ่พืชที่กินแมลงเป็นอาหารเหล่านี้ จะขึ้นอยู่ตามที่ชื้นแฉะหรือแอ่งโคลนเพราะที่ต่างๆ เหล่านี้ มีสารอาหารอยู่น้อย ดังนั้น พวกมันจึงต้องใช้วิธีดักแมลงมากินเป็นอาหาร เพื่อให้มันแข็งแรงและเจริญเติบโตขึ้นได้ แต่ถึงแม้ พวกมันจะจับแมลงกินไม่ได้เลยสักตัว พวกมันก็ไม่ตาย เพียงแต่ว่าพวกมันจะไม่ค่อยเจริญเติบโตเท่านั้นเอง
พืชที่กินแมลงเป็นอาหารที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 3 กลุ่ม โดยแบ่งจากลักษณะการดักจับแมลง ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มที่ใช้กับดัก - ต้นกาบหอยแครง
ด้านในของใบของต้นกาบหอยแครงนั้น จะมีเส้นขนที่มีความรู้สึกที่ไวมากอยู่ด้วย ซึ่งถ้าหากแมลงไปโดนเข้า ใบของมันก็จะหุบลงทันที
ใบทั้งสองของต้นกาบหอยแครง เมื่อหุบลงจะเป็นเสมือนซี่กรงที่ขังแมลงไว้อยู่ข้างใน จากนั้นแมลงก็จะถูกย่อยเป็นอาหารของมัน
กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ใช้หลุมพราง - ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง จะมีกลิ่นเป็นตัวล่อแมลง เมื่อแมลงบินมาเกาะ แมลงก็จะตกลงไปหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งแมลงจะไม่สามารถปีนขึ้นมาได้ เพราะผนังโดยรอบของหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีความลื่นมาก และแมลงก็จะจมน้ำในที่สุด จากนั้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็จะมีน้ำย่อยออกมาย่อยเอาสารอาหารจากแมลงต่อไป
กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่ใช้น้ำเหนียว - ต้นหยาดน้ำค้าง
ต้นหยาดน้ำค้างนั้น จะปล่อยน้ำเหนียวๆ ไว้รอบๆ ดอกของมัน พอมีแมลงมาเกาะ แมลงก็จะติดและไม่สามารถขยับหนีไปไหนได้เลย
น้ำเหนียวๆ ที่ต้นหยาดน้ำค้างปล่อยออกมานั้น จะสามารถซึมเข้าไปในตัวแมลงเพื่อย่อยส่วนที่เป็นประโยชน์ออกมาเพื่อใช้เป็นสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของมัน
จะเห็นได้ว่า ธรรมชาติมักจะสร้างวัฏจักรแห่งความสมดุลเสมอ เพราะ ถ้าหากไม่พืชกินแมลงเหล่านี้ ไม่อยากจะคิดเลยว่า โลกของเราจะมีแมลงมากมายกว่านี้เพียงใด
No comments:
Post a Comment