Sunday, May 3, 2015

7 สิ่งเร้าจังหวะหัวใจเผลอไปจะคิดไกลว่านี่โรคหัวใจชัด ๆ




         7 สิ่งที่เปลี่ยนจังหวะหัวใจของคุณให้เต้นระรัวส่งผลให้มีอาการคล้ายคนเป็นโรคหัวใจทั้งที่จริงแล้วเป็นแค่โรคหัวใจปลอม ๆ

          เคยไหมคะที่บางช่วงเวลาแอบคิดไปไกลว่าเราเองอาจมีความเสี่ยงเป็­นโรคหัวใจ เป็นกังวลไปต่าง ๆ นานา เพราะมีอาการบ่งชี้ที่ค่อนข้างชัดเจนว่านี่แหละอาการของคนเ­ป็นโรคหัวใจชัด ๆ ซึ่งหากได้อ่านข้อมูลจาก Health แล้วจะทำให้เลิกกังวลไปเลยว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจเพราะก็เห็น ๆ กันอยู่ว่า 7 สิ่งนี้แหละที่ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นโรคหัวใจ

ภาวะตื่นตกใจ

          อาการใจเต้นแรงแทบทะลุออกมานอกอกตัวสั่นเหงื่อซึมและรู้สึกหวิวเหมือนจะเป็นลม ดร.โดชิ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพหัวใจ เซนต์ โยเซฟ ซานตาโมนิกา รัฐแคลิฟอร์เนียบอกว่าอาการเช่นนี้อาจไม่ใช่อาการบ่งชี้ของโรคหัวใจ ทว่าเป็นเพียงความตื่นตกใจที่เกิดขึ้นเมื่อเราเจอบางอย่างกระตุ­้นเร้าเท่า นั้น หรือบางทีคุณอาจเผชิญกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาคลื่น ไฟฟ้าแตกตัวส่งผลให้หัวใจเต้นแรงและตามมาด้วยอาการข้างเคียงดังที่กล่าวมา

          ทั้งนี้หากใครมีอาการเช่นนี้บ่อยๆและเป็นกังวล ดร.โดชิก็แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการอย่างอื่นอย่างละเ­อียด หรือกับบางคนที่ขี้ตกใจเกินเหตุอาจปรึกษากับจิตแพทย์และขอรับยาที่ช่วยลด ความวิตกกังวลร่วมด้วย­­­

คาเฟอีน

          ก่อนจะกังวลกับอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติอยากให้ใคร่ครวญสักนิดว่าคุณเพิ่ง จะดื่มกาแฟมาหรือเปล่า เนื่องจากผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจเซนต์โยเซฟออร์เรนจ์แคลิฟอร์เนียแอบเตือน ว่า หากดื่มเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนมาก ๆ อาจทำให้ระบบประสาทออโตโนมิกทำงานผิดปกติเอาได้ ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุให้หัวใจเต้นเร็วและไม่สม่ำเสมอ

          ทว่าหากมีอาการเจ็บหน้าอกหน้ามืดหรือเวียนศีรษะร่วมด้วยแนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอาการอย่างละเอียดอีกทีเพื่อค­วามแน่ใจ

 
ยาลดน้ำมูก

          ดร.โด ชิให้ข้อมูลว่ายาลดน้ำมูกจำพวกยาซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine) อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดจังหวะไป ดังนั้นหากรู้สึกได้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับหัวใจทุกครั้งท­ี่กินยา ประเภทนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เภสัชกร เพื่อเปลี่ยนยารักษาอาการคัดจมูกใหม่ จะได้ไม่ต้องคิดไปไกลว่าเป็นโรคหัวใจนะคะ
 
ภาวะขาดน้ำ

          ไม่ว่าร่างกายจะขาดน้ำเพราะเสียน้ำมากดื่มน้ำน้อยหรือด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ร่าง กายจะส่งสัญญาณประท้วงด้วยการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อ อาจส่งผลให้คุณเป็นตะคริว ปากแห้งแตก หน้าซีด ปวดศีรษะ และอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติได้ ดังนั้น ดร.โดชิจึงแนะนำให้ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 2.2 ลิตรต่อวัน (น้ำประมาณ 9 แก้ว) เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้ร่างกายการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะได้เป็นปกติ

ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

          โดย เฉพาะยาที่ใช้รักษาโรคหอบหืดและโรคระบบไทรอยด์ ตัวยาเหล่านี้พกผลข้างเคียงเป็นการเร่งอัตราการเต้นของหัวใจไว้­ด้วย ฉะนั้นไม่ว่าจะกินยาอะไรก็ตามควรตรวจสอบอาการข้างเคียงของยาด้ว­ยทุกครั้ง และที่สำคัญควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองหลังรับประทานยาชนิดต่­าง ๆ ไป โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่แพทย์จ่ายยาตัวใหม่ให้หรือคนที่ชอบซื้อยามารักษา อาการป่วยด้วยตัวเอง หากเกิดความผิดปกติใด ๆ ขึ้นกับร่างกายควรรีบแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบโดยด่วน

 
ภาวะโลหิตจาง

          ส่วนมากแล้วคนที่เป็นโรคโลหิตจางจะเกิดจากร่างกายขาดธาตุเหล็กร่างกายจึงไม่ สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สมบูรณ์ได้ การขนถ่ายออกซิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อจึงค่อนข้างลำบากกว่าคนที่เ­ลือดปกติส่ง ผลกระทบไปถึงการทำงานของหัวใจ

          ผู้ป่วยโรคโลหิตจางอาจต้องเจอกับภาวะหัวใจเต้นผิดปกติร่วมกับอาการเหนื่อยง่าย และผมร่วง หรือกับผู้ป่วยบางคนอาจมีอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอแต่เป็นจังหวะที่หนัก แน่นจนรู้สึกได้ถึงความผิดปกติซึ่ง ดร.ไบรอัน ผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจเซนต์โจเซฟออร์เรนจ์แคลิฟอร์เนียก็ชี้แจงว่า ภาวะหัวใจเต้นแรงเกิดจากหัวใจพยายามปั๊มออกซิเจนจากเซลล์เม็ดเลือด­แดงที่มี อยู่น้อยนิดมาหล่อเลี้ยงเซลล์นั่นเอง

โลหะหนัก

          โลหะหนักเช่นแคดเมียม, ปรอทและโลหะหนักชนิดอื่น ๆ หากเข้าไปสะสมในร่างกายเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการอักเสบหลอดเลือดเกิดการ แข็งตัวและอาการผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจอื่น ๆ ได้ซึ่งคนที่เสี่ยงจะเป็นคนที่ต้องทำงานในระบบอุตสาหกรรมเป็นส่วนใ­หญ่

          ทั้งนี้ ดร.ไบรอันยังเสริมมาด้วยว่าเหล่าโลหะหนักที่ว่านี้มีสารพิษที่รบกวนการทำงาน ของกล้ามเนื้อห­ัวใจได้โดยตรง แถมยังสามารถปั่นป่วนคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้ทำงานผิดปกติ ซึ่งจุดนี้นี่ล่ะที่ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจคุณเกิดความผิ­ดปกติไปด้วย

          แม้บางกรณีจะเป็นแค่เพียงสัญญาณเตือนของโรคหัวใจหลอก ๆ ทว่าก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไปนะคะอย่างน้อยเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการผิด ปกติให้ชัดเจนอีกสักค­รั้งน่าจะทำให้โล่งใจขึ้นอีกเยอะ

แหล่งที่มา  http://health.kapook.com/view118069.html
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

No comments:

Post a Comment