Tuesday, August 19, 2014

เช็คด่วน กิจกรรมเสี่ยงหูหนวกที่ควรระวัง



          มาลองเช็คกันดูสิว่ามีกิจกรรมใดที่เป็นอันตรายต่อหูของเรา ทำให้เสี่ยงต่อการหูหนวกได้เลย หูเป็นอวัยวะที่สำคัญมากอวัยวะหนึ่งของร่างกาย มีนักวิทยาศาสตร์เคยกล่าวว่าการสูญเสียการได้ยินอาจทำให้กลายเป็นคนเก็บกด แยกตัวเองจากสังคม และเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ก็ใช่ว่าเราจะไม่สามารถป้องกันปัญหาการสูญเสียการได้ยินได้ แค่เพียงหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีระดับความดังของเสียงเกิน 100 เดซิเบล หรืออยู่กับเสียงดัง ๆ นานกว่า 15 นาที หรือจะเป็นกิจกรรมต่าง ๆ อย่างที่เว็บไซต์ goodhousekeeping.com ได้บอกเอาไว้ว่าควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง มาดูกันดีกว่าค่ะเราควรจะเลี่ยงกิจกรรมใดบ้างเพื่อสุขภาพหูที่ดีของเรา

 ฟังเพลงเสียงดัง

          การใส่หูฟังและเปิดเสียงดังสุดเป็นเวลานานนั้นเป็นอันตรายต่อหูอย่างยิ่ง ดอกเตอร์ Sharon  andrige ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการการรักษาเกี่ยวกับการได้ยินของคลีนิกคลีฟแลนด์ได้ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะใส่หูฟังเพื่อฟังเพลงตลอดทั้งวัน แต่ไม่ควรให้ระดับความดังของเสียงนั้นเกินกว่า 85 เดซิลเบล นอกจากนี้ นายแพทย์ Robert K. Jackler ประธานภาควิชาโสต ศอ นาสิกแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้เสริมอีกว่า เมื่อต้องใช้หูฟังเป็นเวลานานก็ควรจะถอดหูฟังออกเพื่อพักหูบ้าง


ออกกำลังกายในยิมที่มีเสียงดัง

          แม้การออกกำลังกายจะดีต่อสุขภาพ แต่ว่าการออกกำลังกายในสถานที่ที่มีเสียงดังนั้นอาจจะทำให้หูของเรามีปัญหา ได้ โดยเฉพาะในยิม หรือฟิตเนสที่มีเสียงต่าง ๆ ดังเกินกว่า 100 เดซิเบล Michael Ruckenstein ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโสต ศอ นาสิกจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเปิดเผยว่า เพราะไม่มีข้อกำหนดทางกฎหมายเกี่ยวกับระดับความดังของเสียงในยิมหรือฟิตเนส ทำให้โดยส่วนใหญ่ยิมหรือฟิตเนสเหล่านั้นจึงไม่เคยจ้างบริษัทที่เกี่ยวกับ เสียงเข้ามาวัดความดังของเสียงเลย เพราะฉะนั้นหากรู้สึกว่าเสียงดังก็ควรใช้ที่อุดหูเพื่อช่วยดูดซับให้เสียง เหล่านั้นเบาลง หรือถ้าหากมันดังจนเกินไปก็ควรที่จะแจ้งผู้จัดการในสถานที่นั้น ๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไข

 
ไปในสถานที่ที่มีเสียงดัง

          การแสดงคอนเสิร์ต ไนท์คลับ หรือผับ สถานที่เหล่านี้เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยเสียงดัง การอยู่ในสถานที่เหล่านั้นเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้สูญเสียการได้ยินไปชั่วขณะได้ วิธีการป้องกันก็คือควรจะพกที่อุดหูไปด้วย และใช้มันเมื่อต้องเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังมาก ๆ ก็จะสามารถทำให้เราได้ยินเสียงที่เบาลงได้

 
ดูการแสดงดอกไม้ไฟในระยะใกล้

           เสียงดอกไม้ไฟเป็นเสียงดังในระดับอันตราย เพราะถึงแม้จะอยู่ห่างถึงสามฟุตแล้วก็ตาม ระดับความดังของเสียงก็ยังอยู่ที่ 150 เดซิเบล แพทย์หญิง Dale Amanda Tylor แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยาในซานฟรานซิสโก บอกว่า เธอเคยเจอคนไข้ที่สูญเสียการได้ยินกะทันหันหลังจากการจุดประทัดเทศกาลตุ รษจีนซึ่งอยู่ห่างจากเธอไปเพียงไม่กี่ฟุต วิธีการป้องกันก็คือ ควรใส่ที่อุดหูหากจำเป็นต้องอยู่ใกล้กับการจุดประทัดหรือดอกไม้ไฟ เพื่อให้เสียงนั้นเบาลง แต่ทางที่ดีที่สุดนั้นก็คือควรหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับเสียงดังเหล่านั้น เลยจะดีกว่า

 
ยิงปืน

          ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักการยิงปืน การใส่ที่อุดหูชนิดพิเศษสำหรับการยิงปืนนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเสียงจากปืนมีความดังได้ถึง 140 เดซิเบล ซึ่งอยู่ในระดับอันตราย แพทย์หญิง Taylor บอกให้รู้ว่า หนึ่งในคนไข้ของเธอต้องอยู่กับอาการหูอื้อตลอดเวลาก็เพราะไม่ได้ใส่ที่ ป้องกันหูก่อนที่จะยิงปืนนั่นเอง

 
การซ่อมแซมบ้าน

           สว่านที่ใช้เจาะนั้นมีความดังถึง 100 เดซิเบล ในขณะที่เสียงเลื่อยไฟฟ้าก็ดังถึง 120 เดซิเบล นี่ยังไม่รวมถึงการตอกตะปูที่สร้างเสียงดังและน่ารำคาญอีกด้วย ซึ่งเสียงที่มาจากการซ่อมแต่งต่อเติมบ้านเหล่านี้ สามารถทำให้หูอื้อ และถ้าหากได้ยินเป็นเวลานานก็อาจจะทำให้สูญเสียการได้ยินได้เช่นกัน

 
รู้ไว้ใช่ว่า

         
องค์การอนามัยโลก กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ) ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์ หากได้ยินเสียงเกิน 85 เดซิเบล (เอ) นานติดต่อกันมากกว่าวันละ 8 ชั่วโมง จะทำให้สูญเสียสมาธิ เกิดความเครียด เป็นโรคประสาท อาจป่วยด้วยโรคกระเพาะอาหาร ความดันโลหิตสูง และทำให้สูญเสียการได้ยินทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวรได้ 

         
หากต้องการวัดระดับความดังของเสียงก็สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่ใช้วัด ระดับเสียงได้ ซึ่งบางแอพพลิเคชั่นก็สามารถช่วยวัดระดับเสียงได้ใกล้เคียงความเป็นจริงค่ะ

          ทราบอย่างนี้แล้ว หวังว่าหลาย ๆ คน ที่กำลังเคยชินกับกิจกรรมที่มีเสียงดังก็คงจะเริ่มระมัดระวังตัวกันแล้วใช่ ไหมคะ หูของเราไม่มีอะไหล่ ถ้าเสียไปแล้วก็คงไม่คุ้มกัน ดังนั้น ลด ละ เลิก การอยู่ในสถานที่ที่เสียงดัง หรือการฟังเพลงเสียงดัง เพื่อที่เราจะได้ยินเสียงกันไปนาน ๆ นะคะ

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

No comments:

Post a Comment